วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Social network กับตัวเราและสังคมไทย

Week 3 : Social network กับนักเรียนและสังคมไทย

ในทุกๆวันเรามีการใช้ Social network ในการติดต่อสื่อสาร แบ่งปันเรื่องราวต่างๆมากมาย แต่รู้หรือไม่ว่า สังคมไทยของเรามีพฤติกรรมการใช้ Social network กันอย่างไร ?
Social Network หรือ เครือข่ายสังคม (ชุมชนออนไลน์) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแชท ส่งข้อความ ส่งอีเมลล์ วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก

ในทุกๆวันเรามีการใช้ Social network ในการทำกิจกรรมต่างๆ และมีการใช้งานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นการเสพติด และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่จะมีการใช้ Social network ตั้งแต่ตื่นนอน เข้าห้องน้ำ ระหว่างเดินทาง หรือแม้กระทั่งก่อนเข้านอน โดย Zocial inc. บริษัทด้านการวิเคราห์ข้อมูลเกี่ยวกับ Social Network  ได้ทำการสำรวจคนไทยกว่า 655 คน เกี่ยวกับการใช้ Social Media ในชีวิตประจำวันตั้งแต่ตื่นนอน จนจบวัน ได้ข้อมูลที่สำคัญและน่าสนใจดังนี้  คนไทยใช้ Facebook มากถึง 99%  ,  ใช้ LINE 84%  ,ใช้ Instagram 56% ,   ใช้ Google+ 41%  และใช้ Twitter 30%

และประเทศไทย ใช้ Facebook มากเป็นอันดับ 9 ของโลก



โดยผู้สำรวจยังบอกอีกว่ากิจกรรมใน Facebook ที่ผู้ใช้งานชอบปฏิบัติกันมากได้แก่

1. กิจกรรมคอมเม้นต์ ใต้โพสต์  มีคนชอบ 91%
2. กิจกรรม Like และ Share เพจมีคนชอบ 79%
3. กิจกรรม Share Video Clip ต่างๆมีคนชอบ 68%
4. กิจกรรมถ่ายรูปคู่ผลิตภัณฑ์ มีคนชอบ 65%



จะเห็นได้ว่าเราใช้ Social network ในการทำกิจกรรมต่างๆมากมาย ซึ่ง
ใช้งาน Social network ทำให้เกิดกระแสต่างๆตามมา ไม่ว่าจะเป็นกระแสการถ่ายรูป planking, ice bucket challenge หรือ charlie charlie challenge และก็มีผู้ใช้งาน Social network จำนวนมากได้ทำตามกระแสนั้น เราจึงสามารถพูดได้ว่า Social network นี้มีอิทธิพลต่อตัวเราอย่างมาก 


planking

ice bucket challenge


charlie charlie challenge

แต่การเสพติด Social network เหล่านั้นอาจส่งผลเสียต่อตัวเรา หากมีมิจฉาชีพ หรือบุคคลที่ไม่หวังดี นำ Social network ไปใช้ในทางที่ผิด เช่น มีการนำข้อมูลของเราไปปลอมแปลง แล้วนำไปหลอกคนอื่น หรือหลอกลวงเราผ่านทางอินเทอร์เน็ต จนเราต้องเสียทรัพย์สินเงินทอง หรือถึงขั้นเสียชีวิตดังข่าวที่เคยมีมาก่อนหน้านี้ ดังนั้นก่อนที่เราจะโพสต์ หรือแชร์สิ่งต่างๆก็ควรที่จะใช้วิจาณญาณ คิดอย่างรอบครอบ ก่อนที่จะเผยแพร่ออกไป 

ดังนั้นวันนี้บล็อกเกอร์เลยอยากนำเสนอมีวิธีปฏิบัติง่ายๆก่อนที่จะแชร์ หรือโพสต์ข้อความต่างๆ ผ่านทาง Facebook เพื่อให้เกิดความปลอดภัย

1. ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว 
ก่อนที่จะโพสต์หรือแชร์ข้อความต่างๆ ก็ควรที่จะตั้งค่าความเป็นส่วนตัว โดยอาจจะจำกัดผู้ที่สามารถเห็นข้อความของเราได้เฉพาะเพื่อน หรือเฉพาะคนบางคนที่เราต้องการให้เห็น ไม่ควรเปิดเป็นสาธารณะ เพราะการเปิดเป็นสาธาณณะ อาจทำให้มิจฉาชีพนำข้อความที่เราโพสต์ไปใช้ในทางไม่ดีได้ 



2. turn off location ขณะใช้ Facebook Messenger

การเปิดเผยที่อยู่ของเราขณะที่เรากำลังคุยแชทกับคนแปลกหน้าที่เราไม่รู้จัก ซึ่งอาจเป็นมิจฉาชีพ อาจทำให้มิจฉาชีพตามหาเราในที่ที่เราอยู่ และกระทำการไม่ดีกับเราได้ ดังนั้นทุกครั้งที่กำลังแชทกับคนแปลกหน้าเราควรที่จะกด turn off location 



3. เปลี่ยน password ทุกๆ 3-6 เดือน

ในบางครั้งเราอาจจะไม่แน่ใจว่าข้อมูลต่างๆ ของเราถูกขโมยไปด้วยวิธีใดบ้าง ดังนั้นการเปลี่ยนพาสเวิร์ดจะช่วยให้ผู้ที่ไม่หวังดีไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของเราได้
4. ไม่กดแชร์ข้อความ หรือ link แปลกๆ
การแชร์ข้อความต่อจากผู้อื่น บางข้อความอาจเป็นเรื่องจริง แต่หากข้อความที่เรากดแชร์ไปเป็นเรื่องหลอกลวง หรือเป็นเรื่องแต่งขึ้น อย่างเช่น หลอกว่าคนนี้โกงเงินไป หรือมีคนป่วยหนัก ต้องใช้เงินรักษาจำนวนมาก ให้ช่วยแชร์เพื่อบริจาคเงินเข้าบัญชีต่างๆ คงจะเกิดความเสียหายอย่างมากหากเราเผลอกดแชร์ข้อความนั้นออกไป ดังนั้นก่อนที่จะแชร์ข้อความต่างๆก็ควรที่จะคิด พิจารณาให้ดีว่าข้อความที่เราจะแชร์นั้นมาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือมากเพียงใด 


แหล่งที่มา

http://www.samsung.com/th/article/security-for-social-networks
http://www.it24hrs.com/2014/thai-social-network-day-in-a-life/
http://yocreative.net/assets/pics/social_network_01.jpg
https://sites.google.com/site/socialnetworkfc/social-network-khux-xari
http://socialcontrol.com/wp-content/uploads/2015/05/Charlie-Charlie-Challenge-Android-Auto-And-More-From-The-Last-Week-In-Social-Media-e1432942774442.jpeg
http://www.trendmizi.com
http://theorbital.co.uk/plank-planking-soc-heading-holloway/

1 ความคิดเห็น:

  1. สีตัวอักษรอ่านง่าย ทำให้เข้าใจในเนื้อหามากขึ้นกว่าเดิมเยอะเลย

    ตอบลบ